top of page
Writer's pictureThe Isaander

Why I Write: กฎ 7 ข้อในแอนิมอล ฟาร์ม ของจอร์จ ออร์เวลล์



"เมื่อผมไม่มีจุดมุ่งหมายทางการเมืองแล้ว หนังสือที่ผมเขียนจะไร้ชีวิต และเป็นเพียงวลีที่สวยงามแต่หลอกลวง จะเป็นประโยคที่ปราศจาคความหมาย ส่วนคำขยายก็เป็นเพียงสิ่งตกแต่ง และทั้งหมดก็คือเรื่องโกหกไร้สาระเท่านั้น"

(จอร์จ ออร์เวลล์, Why I Write,1964)

หลังผู้นำประเทศประเทศหนึ่ง แนะนำให้ประชาชนอ่านหนังสือแอนิมอล ฟาร์ม วรรณกรรมสะท้อนภาพการเมืองจาก อิริค อาร์เธอร์ แบร์

ที่เรารู้จักเขาในนาม จอร์จ ออร์เวลล์ นักเขียนอังกฤษที่ขึ้นชื่อในการเขียนเสียดสี เย้ยหยัน ชนชั้นระบบการปกครอง ที่ริดรอนและพรากสิทธิเสรีภาพของผู้คนในประเทศ

ประเทศไหน ? ช่างมันเหอะ !

ไม่รู้ว่าขณะนี้ผู้ชวนอ่านเล่มนี้คิดอยากเปลี่ยนใจไปแนะนำหนังสือเล่มอื่นหรือไม่ แต่ตอนนี้กระแสของหนังสือการเมืองเรื่องสัตว์เล่มนี้ กำลังถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้งในโซเชียลมีเดีย และในส่วนเนื้อหาก็มีคนบอกเล่ากระทั่งสปอยตอนจบไปพอสมควรแล้ว

The Isaander เลยอยากชวนย้อนดูข้อบัญญัติที่เกิดขึ้นหลังจากการทำคล้ายๆรัฐประหารในรัฐสัตว์แห่งนั้น ซึ่งกลายมาเป็นข้อบัญญัติ 7 ประการ เปรียบเสมือนธรรมนูญกลายๆ ของแอนิมอล ฟาร์ม

1.อะไรก็ตามที่เดินด้วยสองขาคือศัตรู

2.อะไรก็ตามที่เดินด้วยสี่ขาหรือมีปีกคือมิตร

3.สัตว์จะต้องไม่สวมเสื้อผ้า

4.สัตว์จะต้องไม่นอนบนเตียง

5.สัตว์จะต้องไม่ดื่มเหล้า

6.สัตว์จะต้องไม่ฆ่าสัตว์ด้วยกันเอง

7.สัตว์ทุกตัวมีความเท่าเทียมกัน

แต่ว่าท้ายที่สุดที่ว่า "สัตว์ทุกตัวมีความเท่าเทียมกัน แต่สัตว์บางตัวมีความเท่าเทียมมากกว่าสัตว์อื่นๆ"

ดูเหมือนจะเป็นสิ่งบอกเล่าเรื่องราวภาพจำลองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกๆประเทศที่ปกคลุมด้วยการปกครองลักษณะเผด็จการ เมื่อได้อ่านแล้วเปิดใจกว้างๆและลองไตร่ตรองดูเถิด

**แอนิมอล ฟาร์ม ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1945 ถูกแปลเป็นภาษาไทยในหลายๆสำนวน และหลายชื่อปก เช่น ฟาร์มเดรัจฉาน , การเมืองเรื่องสรรพสัตว์,รัฐสัตว์ ฯลฯ

โดยมีเวอร์ชั่นหลังๆที่มักถูกพูดถึงใช้ชื่อว่า แอนิมอล ฟาร์ม สงครามกบฎของสรรพสัตว์ แปลโดยบัญชา สุวรรณานนท์ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ไต้ฝุ่น

ภาพประกอบ penguin.com.au

258 views0 comments

Comments


bottom of page