"บ้านเลขที่ 555 บ้านหนองใส ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ร่วมกับบริษัทท๊อปไลน์ไดมอนด์ ผู้สร้างสรรค์งานเพลงดีมีคุณภาพ ปุ๋ยตรานกปากห่าง ซอสฝาเขียวตราเด็กสมบูรณ์อยู่คู่ครัวไทยมาแล้วกว่า 70 ปี ขอจูงมืออันสูงเกียรติของพระเดชพระคุณท่าน พบและสัมผัสกับการแสดงด้านหน้าเวที ของทีมงานเสียงอีสาน ได้ ณ โอกาสนี้ เชิญครับ "
_____________________________
ปัจจุบันมีคณะหมอลำหลายคณะในภาคอีสาน เช่น หมอลำคณะเสียงอิสาน คณะประถมบันเทิงศิลป์ คณะระเบียวาทศิลป์ คณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ เหล่านี้เป็นคณะหมอลำ ที่ได้รับความนิยมในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน (สปป.ลาว)
.
เนื่องจากภาษาที่ใช้สามารถ สื่อสารกันได้โดยไม่ต้องใช้ล่าม อีกทั้งการมีวัฒนธรรมใกล้เคียงคล้ายคลึงกันกับภาคอีสานของไทย จนอาจถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่ควรศึกษา
.
บทความนี้ศึกษาที่มาและความหมายของการตั้งชื่อคณะหมอลำเรื่องต่อกลอนในภาคอีสาน และเพื่อศึกษาลักษณะการใช้ภาษาในการตั้งชื่อคณะหมอลำเรื่องต่อกลอนในภาคอีสาน จากการศึกษาทั้งหมด 115 คณะ พบว่า ที่มาและความหมายแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม ดังนี้ คณะหมอลำที่ตั้งชื่อเพื่อความเป็นศิริมงคลมากที่สุด จำนวน 48 คณะ เช่น คณะหนึ่งนครวัฒนศิลป์, คณะฟ้าสีคราม, คณะระฆังทอง, คณะดาวจรัสแสง ,คณะหนึ่งในสยาม ,คณะมาลัยทอง, คณะไทยยืนยง ,คณะดาวรุ่งเด่นสยาม ฯลฯ
.
รองลงมาคือการตั้งชื่อตามชื่อของผู้ก่อตั้งคณะหมอลำ จำนวน 30 คณะ เช่น คณะประถมบันเทิงศิลป์, คณะระเบียบวาทศิลป์, คณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ,คณะเดือนเพ็ญ อำนวยพร ,คณะสมจิตร บ่อทอง ,คณะวีระพงษ์ วงค์ศิลป์, คณะเทพรังสรรค์ ขวัญดารา ฯลฯ
.
สามคือการตั้งชื่อตามภูมิลำเนาของผู้ก่อตั้งชื่อคณะหมอลำจำนวน 26 คณะเช่น คณะสาวน้อยเพชรบ้านแพง ,คณะแก่นนครบันเทิงศิลป์ ,คณะฟ้าใหม่เพชรพลาญชัย, คณะเพชรแพรวา ,คณะอุบลบันเทิงศิลป์ ฯลฯ
สี่คือการตั้งชื่อตามชื่อของสัตว์ จำนวน 4 คณะ เช่น คณะนกยูงทอง การตั้งชื่อเพื่อความแปลกใหม่ให้ดึงดูดใจผู้ติดตาม 4 คณะเช่น คณะสาวอีหลีคักคัก คณะไหหลำงลำเพลิน และคณะลูกทุ่งปริญญา ห้าการตั้งชื่อตามชื่อพืช จำนวน 2 คณะ เช่น คณะบัวริมบึงรุ่งลำเพลิน ที่พบน้อยที่สุด คือ การตั้งชื่อเป็นตัวเลข 1 คณะ และการตั้งชื่อตามชื่อผลงานของผู้สนับสนุน 1 คณะ
_________________________
จากบทคัดย่อ บทความ ศึกษาวัฒนธรรมการตั้งชื่อคณะหมอลำเรื่องต่อกลอนในภาคอีสาน โดย อนันตศักดิ์ พลแก้วเกษ และ ชาญยุทธ สอนจันทร์ วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม- ธันวาคม ปี 2561 อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ ---> https://bit.ly/30nZZK9
#Theisaander #อีสาน #หมอลำ #เสียงอีสาน #เลียงอีลาน
Comments