มีรายงานสถานการณ์โรคแบคทีเรียกินเนื้อ(Necrotizing Fasciitis) หรือที่เรียกกันจนติดปากว่า 'โรคเนื้อเน่า' ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้สารเคมีของเกษตร โดยพบว่าเลยเป็นจังหวัดที่มียอดผู้ป่วยโรคสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งติดต่อกัน 3 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 2559-2561) ทำให้สาธารณสุขจังหวัดต้องเร่งประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันโรคโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน
นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เลย เผยว่า จากการดูสถิติที่มีการบันทึกไว้จะพบว่าจังหวัดเลย มีสถิติของคนไข้กลุ่มโรคเนื้อเน่าในปี 2559 – 2561 มียอดจำนวนผู้ป่วยสูงสุด จากตัวเลขทั้งหมดที่ถูกบันทึกจากโรงพยาบาล แต่ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าเป็นปัญหาจากที่ 3 ปีก่อนหน้านี้มีจำนวนคนไข้มากขึ้น และทางโรงพยาบาลจึงใช้ทรัพยากรกับคนไข้ในโรคนี้มาก เพราะเป็นโรคนี้ต้องนอนในโรงพยาบาลนาน อาจจะมีการสูญเสียอวัยวะจากการตัดเท้า ตัดแขน ตัดขา หรือเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด โดยมีแนวโน้มคนป่วยในจังหวัดเลยสูงจริง แต่ไม่แน่ใจว่าสูงสุดในประเทศหรือเปล่า เท่าที่ดูภาพรวมยังไม่มีหน่วยงานไหนมายืนยัน แต่ดูได้จากฐานข้อมูลแต่ละโรงพยาบาลเท่านั้น
ในส่วนการเกิดโรคซึ่งดูข้อมูลตามวิชาการ กรมควบคุมโรคเกิดจากการสัมผัสการใช้สารเคมีของเกษตรกร ซึ่งอาจไม่โดยตรง แต่ก็เป็นปัจจัยที่เอื้อให้เกิดโรคนี้มากขึ้นกับการใช้สารเคมีในเกษตรกรและช่วงนี้ซึ่งเป็นฤดูการทำนา การทำเกษตร ขณะนี้ทาง สสจ.เลย ได้เร่งประชาสัมพันธ์กับกลุ่มเสี่ยงที่เกิดโรคเนื้อหนังเน่า โดยได้ใช้การประชาสัมพันธ์เป็นหลักและกระตุ้นให้ อสม. ได้สร้างการปฎิบัติการเบื้องต้นในกลุ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ การมีบาดแผลเกิดขึ้นโดยเฉพาะหน้าฝน แต่ทั้งนี้อีกอย่างพี่น้องประชาชนยังไม่ค่อยตระหนักในเรื่องของความเสี่ยงของโรคนี้นัก
.
.
ที่มา : PPTV , Naewna
รูปภาพ : สกสว
Opmerkingen