วันนี้(26 พฤศจิกายน 2562) สวพ.FM91 รายงานว่า อิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้รับรายงานจากที่ประชุมใหญ่สมัยสามัญขององค์การยูเนสโกครั้งที่ 40 มีมติรับรองการร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบบุคคลสาคัญและเหตุการณ์สาคัญทางประวัติศาสตร์ในวาระปี 2563 -2564 ได้ยกย่องบุคคลสาคัญ 2 รูป ได้แก่ พระอาจารย์มั่น ภูริภัตโต ครบรอบ 150 ปีชาตกาล (20 มกราคม 2563) และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครบ 100 ปี แห่งการสิ้นพระชนม์ (2 สิงหาคม 2464)
.
ทั้งนี้รัฐบาลเตรียมจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในมิติศาสนา จัดพิธีประกาศเกียรติคุณและจัดกิจกรรมศาสนพิธี กิจกรรมทางพระพุทธศาสนาส่งเสริมสันติภาพ ร่วมกับคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน 150 ปี ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและคณะศิษยานุศิษย์
.
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นพระอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน และเป็นพระมหาเถระที่คนไทยทั้งประเทศเคารพนับถือ จนปรากฏเด่นชัด ทั้งในขณะที่ท่านยังอยู่ในสมณะและเมื่อละสังขารขันธ์ไปแล้ว ในการประกาศ ยกย่องให้พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นบุคคลสาคัญของโลก สาขาสันติภาพ กระทรวงวัฒนธรรม จะร่วมเฉลิมฉลองกับมหาเถรสมาคม หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน โดยมอบหมายกรมการศาสนา ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อร่วมจัดกิจกรรมเพื่อเชิดชูเกียรติคุณ
.
สำหรับประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เว็บไซต์ LuangPumun.dra.go.th รายงานไว้ว่า เดิมชื่อ เด็กชาย มั่น แก่นแก้ว บิดามารดาชื่อ คำด้วง-จันทร์ แก่นแก้ว เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 20 เดือนมกราคม 2413 ที่บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในตระกูลชาวนา บิดามารดานับถือศาสนาพุทธ มีพี่น้องทั้งหมด 9 คน เข้าบวชเณรตอนอายุ 15 ปี และสึกออกมาตามคำขอของบิดาตอนอายุ 17 ปีเพื่อช่วยงานทางบ้าน
.
ต่อมาเมื่ออายุได้ 22 ปี ท่านได้บรรพชาอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดศรีทอง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 12 เดือนมิถุนายน 2436 ได้ฉายาว่า “ภูริทตฺโต” หลังอุปสมบทท่านได้ศึกษาในฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน (ธรรมยุต)กับท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี หลังจากนั้นท่านได้เข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรม ที่วัดปทุมวนาราม
.
กระทั่งได้ศึกษาอบรมกับท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) วัดบรมนิวาส หลังจากนั้นท่านได้ออกฝึกปฏิบัติ “ธุดงคกรรมฐาน” ด้วยองค์ท่านเองตามลำพัง โดยธุดงค์ไปตามสถานที่ที่เป็นป่าเขา ถ้ำ เงื้อมผา ทางภาคเหนือ ภาคอีสาน บางครั้งท่านก็ธุดงค์ไปยังประเทศพม่า ลาว หลวงพระบางเป็นต้น ซึ่งในระหว่างธุดงค์ไปนั้น ก็มีคณะศิษยานุศิษย์ที่เลื่อมใสในข้อวัตรปฏิบัติขององค์ท่านได้ติดตามไปแบบห่างๆด้วย จนต่อมาพระสงฆ์เหล่านั้นได้เจริญงอกงามในธรรม จนกลายเป็นพระเกจิอาจารย์องค์สำคัญๆในเมืองไทย เป็นที่เคารพสักการะของพระมหากษัตริย์และประชาชนชาวไทยและประเทศเพื่อนบ้านเป็นอย่างมากมาย
.
หลวงปูมั่นได้อาศัยอยู่ตามป่าตามเขาตลอด 57 ปีของการบรรพชา ในช่วงระยะ 5 ปีที่ย่างเข้าวัยชรา จึงได้พำนักเป็นหลักแหล่ง ณ วัดป่าหนองผือนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งช่วงนั้นท่านได้สั่งสอนอบรมศิษยานุศิษย์เป็นจำนวนมาก ชื่อเสียงล่ำลือไปทั่วมีประชาชนนับถือทั่วประเทศ จนกระทั่งท่านอาพาธหนักเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2492 และท่านได้มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2492 สิริรวมอายุได้ 80 ปี
-
Comments