รัฐบาลมีคำสั่งยุบศูนย์ควบคุมโรคโควิด-19 กว่า 200 แห่งในความรับผิดชอบของกองทัพ และกระทรวงมหาดไทยแล้ว เพื่อให้ กลุ่มเสี่ยงกลับไปกักตัวตามภูมิลำเนา ชี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมที่สุด พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาไทย แถลงข่าว หลังการประชุมของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ว่า รัฐบาลจะยุบ ศูนย์ควบคุมโรคโควิด-19 กว่า 200 แห่งในความรับผิดชอบของกองทัพ และกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้ กลุ่มเสี่ยงกลับไปกักตัวตามภูมิลำเนา “สาธารณสุขมีแง่คิดว่า ถ้าเราเอาคนมารวมไว้ในสถานที่ใด สถานที่หนึ่ง มันอาจจะเกิดกรณี การติดกันได้ เหมือนกับที่ เหมือนเรือไดม่อน ปรินเซส เอาไปกักไว้ด้วยกัน มันก็จะติดกันไปตรงนั้น ทางสาธารณสุขเลย คิดว่ามาตรการที่เหมาะสมและดีที่สุด และน่าจะมีประสิทธิภาพ คือเอาไปอยู่ที่ภูมิลำเนาของเขาเอง” พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว “เรื่อง State’s Quarantine เดิม กระทรวงสาธารณสุขได้ยกปัญหาขึ้นมาแล้ว เราได้ปฏิบัติตั้งแต่เที่ยงเมื่อวานนี้ คือ ของเก่าเรามี State’s Quarantine ของรัฐที่เราที่พูดเข้าใจกันว่า ค่ายทหาร และ Local Quarantine ที่มหาดไทยทำอยู่ ความไม่พร้อมสถานที่ ทางพื้นที่ประชาชนบางส่วนมาต่อต้านบ้าง” พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวเพิ่มเติม "อยากขอร้องไปยังคนในชุมชนว่า คนไทยทุกคนมีสิทธิ์อยู่ในผืนแผ่นดินไทย โดยเฉพาะภูมิลำเนาของตัวเอง พร้อมยืนยันว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่แวดล้อม เพราะกลุ่มเสี่ยงจะต้องกักตัวในบ้าน หากพบว่ามีไข้ เจ้าหน้าที่จะส่งตัวไปโรงพยาบาลทันที" พล.อ.อนุพงษ์ ระบุ ทั้งนี้ มีประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ระหว่างการกักกันตัว ที่ศูนย์ควบคุมโรคทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 3-7 มีนาคม 2563 จำนวน 1,882 คน และหลังวันที่ 7 มีนาคม 2563 อีก 98 คนจะได้รับความร่วมมือจากกระทรวงคมนาคมจัดรถไปส่งตามภูมิลำเนาโดยเป็นรถระบบปิด ไม่อนุญาตให้จอดระหว่างทางโดยเด็ดขาด ขณะนี้ ประเทศไทยมีผู้ป่วยยืนยันสะสม 59 ราย ที่รักษาหายแล้ว 34 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 24 ราย เสียชีวิต 1 ราย ตามรายงานของกระทรวงสาธารณสุข โดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เพื่อให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองสะดวกมากยิ่งขึ้นแ ละมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมผู้ที่ต้องไปเฝ้าสังเกตอาการที่บ้าน จากนี้จะมีการแต่งตั้งผู้ช่วยเจ้าพนักงาน ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอสาธารณสุขจังหวัด หรือใครก็ตามที่รมว.สาธารณสุขเห็นว่ามีความเหมาะสม ซึ่งอยู่ในมาตรา 5 ของ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ว่าด้วยการให้อำนาจรมว.สาธารณสุขแต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ก่อนหน้านี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และอดีต หัวหน้า คสช. เคยกล่าวถึงการกักตัวประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่อาจติดเชื้อโควิด-19 ว่า จะใช้พื้นที่ทหารในการกักตัว เพราะ ทหารพร้อม “นึกอะไรไม่ออกก็บอกทหารแล้วกันนะ” แต่หลังจากนั้น สำนักข่าวประชาไท ได้เผยแพร่ เอกสารกองทัพบก เลขหนังสือ ทบ. 463-007 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2563 ที่ระบุว่า ให้กองทัพหลีกเลี่ยงการสนับสนุนพื้นที่กองทัพในการเฝ้าระวังโรคด้วย “ให้ รพ.ทบ. ในสังกัด สนับสนุนในการดูแลในกลุ่มผู้ป่วยเข้าข่ายสอบสวนโรค (Patient Under Investigation: PUI) เฉพาะที่เกิดขีดความสามารถของ รพ. ในสังกัด สธ. ที่จะรองรับจำนวนกลุ่มผู้ป่วยเข้าข่ายสอบสวนโรคได้เท่านั้น" เอกสารดังกล่าว ระบุ “ให้หลีกเลี่ยงการใช้ รพ.ทบ. และอาคารสถานที่ภายในหน่วยเป็นพื้นที่ควบคุมโรค ในกรณีที่มีความจำเป็นในการรับผู้ต้องสงสัยกลุ่มเสี่ยงจำนวนมาก ขอให้ประสานการปฏิบัติกับ สสจ. ในพื้นที่ และ สบภ.ทบ. ก่อน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และแนวทางจัดการสถานที่ควบคุมโรค เพื่อสังเกตการเริ่มป่วย กรณีผู้เดินทางจำนวนมากกลับจากพื้นที่เสี่ยงสูงของกรมควบคุมโรค สธ." เอกสาร ระบุ ฟังแถลง : https://www.youtube.com/watch?v=pBf4wzC9EHQ อ่านเอกสาร กองทัพบก : https://prachatai.com/journal/2020/03/86713 #TheIsaander #Isaan #Isaannews #อีสานเด้อ #อีสาน #ข่าวอีสาน #ดิอีสานเด้อ #ไวรัส #โคโรนา #สายพันธุ์ใหม่ #อู่ฮั่น #ไทย #นายก #เอาอยู่ #Covid19 #โควิด — at ทำเนียบรัฐบาลเกาหลีเหนือ.
top of page
bottom of page
Kommentare